ทําการค้ำยันบริเวณที่จะทําการซ่อมแซมให้แข็งแรง
สกัดคอนกรีตบริเวณรอบเหล็กเสริมที่เป็นสนิม โดยสกัดให้ถึงหลังเหล็กเสริม เพื่อทำการขัดสนิมเหล็กได้รอบเหล็กเสริม ลึกถึงหลังเหล็กเสริมประมาณ 1-2 ซม.
ทำการขัดสนิมให้สะอาด เหล็กเสริมที่เป็นสนิมถ้าเหล็กเสริมสูญเสียหน้าตัดมากกว่า 10% ต้องทำการเสริมเหล็กทดแทนโดยการเชื่อมเหล็กเสริม เพิ่มเข้ากับเหล็กเสริมเดิม หรือต่อทาบ (ซึ่งต้องมีระยะทาบประมาณ 36-40 เท่าของ เส้นผ่าศูนย์กลางเหล็กเสริม)
ทาวัสดุเคลือบป้องกันสนิมเหล็กสำหรับเหล็กเสริม “Rebar Primer” จำนวน 1 เที่ยว ทิ้งให้แห้ง
ใช้น้ำยาประสานคอนกรีต “ดูราบอนด์ เอสที” ผสมกับซีเมนต์ผงและทรายหยาบ อัตราส่วน 1:1:1 ให้เข้ากันแล้วใช้แปรงจุ่มทาให้ทั่วบริเวณที่จะเทซ่อม
ทำการตั้งแบบรอบบริเวณที่จะเทซ่อม อุดแบบไม่ให้ปูนเมื่อเทไหลออก เปิดบริเวณด้านบนให้สามารถเทกรอกปูนได้สะดวก
ใช้ปูนนอนชริ้งท์เกร้าท์“ดูราเกร้าท์” ผสมกับน้ำสะอาดตามสัดส่วนที่กำหนดด้วยสว่านผสม ความเร็วรอบต่ำ 400-600 รอบ/นาทีให้ได้เนื้อปูนที่เหลวพอเหมาะ มีสีออกเขียวเทา ไม่เป็นคราบเหลือง ทำการเทกรอกในแบบที่ตั้งไว้จนเต็ม ใช้เหล็กเส้นแยงหรือใช้ฆ้อนเคาะเบาๆที่แบบขณะเทเพื่อให้ปูนเกร้าท์ไหลเต็มทั่วบริเวณที่จะทำการซ่อม
กรณีจุดที่ซ่อมมีความหนามากกว่า 4 ซม. สามารถผสมเพิ่มหินเกล็ดแห้ง(หิน 3/8 นิ้ว) ภายหลังจากผสมปูนเกร้าท์กับน้ำแล้ว โดยปริมาณที่ใส่ได้ประมาณ 30% ของปูนเกร้าท์(โดยน้ำหนัก) หรือใส่หินแห้งโดยห้ามเติมน้ำเพิ่มในปริมาณ ที่ได้ความเหลวของปูนเกร้าท์ที่ยังสามารถเทไหลตัวได้
ทิ้งไว้ 1-2 วัน ถอดแบบแล้วบ่มคอนกรีตด้วยน้ำหรือทาหรือฉีดพ่นน้ำยาบ่มคอนกรีต “ดูราเคียว ดับบลิวบี” บริเวณที่เทซ่อม
ทำการฉาบแต่งผิวด้วยปูนฉาบแต่งผิวคอนกรีตหรือ “ดูราโค้ท เอฟ110” สกิมโค้ทก่อนทาสี
Today | This Month | Total | |||
582 | 8531 | 337905 |